ความแตกต่างระหว่าง silkscreen , Offset และ Inkjet บนหน้าแผ่นซีดี

1. ระบบ offset

เป็นระบบที่ใช้เครื่องจักรในการสกรีน ลงบนแผ่นซีดีหน้าเงิน ที่ได้จากการปั๊มแผ่นออกมาแล้ว พื้นผิวเนียนเรียบ เม็ดสีละเอียด จะสังเกตได้จากการลองลูบบนหน้าหน้าแผ่นซีดี จะพบว่าเรียบสนิท เหมาะสำหรับงานที่อาร์ทเวิร์ค เป็นรูปกราฟฟิค มีการไล่ระดับ ไล่ชั้นโทนสี หรือพวกรูปภาพ เป็นต้น

* ไม่สามารถสกรีนระบบออฟเซ็ท กับ CD-R ได้ เนื่องจากจะทำให้การไรท์ข้อมูลมีประสิทธิภาพต่ำ

2. ระบบ silkscreen

เป็นระบบที่ใช้เครื่องจักรในการสกรีน ลงบนแผ่นซีดีหน้าเงิน ที่ได้จากการปั๊มแผ่นออกมาแล้ว

พื้นผิวจะมีมิติ มีความนูนของชั้นสีขึ้นมา จะสังเกตได้จากการลองลูบบนหน้าแผ่นซีดี จะพบว่าจะนูนๆ สีจะมีความสด ชัดกว่าระบบออฟเซ็ท เหมาะกับงานที่อาร์ทเวิร์คเป็นสีทีตัดกันชัดเจน ไม่มีการไล่โทนสี

3.ระบบ inkjet

เป็นระบบที่ใช้ Printer ในการสกรีนลงบนแผ่นซีดี Printable (ซีดีหน้าขาวที่สำหรับพรินท์โดยเฉพาะ) งานจะเหมือนการพรินท์ลงบนกระดาษสำหรับพิมพ์รูป งานที่ได้ออกมาจะสดสวย ชัดเจน แต่มีข้อจำกัดที่ว่า งานอิงค์เจ็ท จะไม่ทนต่อน้ำ และความชื้นใดๆ เหมาะสำหรับงาน ซีดี จำนวนน้อย ที่ต้องการหน้าสกรีนที่มีความสวยงาม

* ไม่สามารถสกรีนระบบออฟเซ็ท กับ CD-R ได้ เนื่องจากจะทำให้การไรท์ข้อมูลมีประสิทธิภาพต่ำ


มาตรฐานแผ่น cd

แผ่น cd ที่เราใช้ ๆ กันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นเพลง แผ่นโปรแกรม แผ่นหนัง จะต้องมีมาตรฐานเพื่อให้สามารถนำแผ่นนั้นมาใช้งานได้ และต่อไปนี้คือมาตรฐาน

ของแผ่นรูปแบบต่าง ๆ ที่เคยมีการสร้างมาตรฐานกันขึ้นมา

1. Yellow Book มาตรฐานนี้กำหนดขึ้นในปี 1984 สำหรับเป็นมาตรฐานซีดีข้อมูลที่ใช้เก็บข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ (cd-rom) โดยจะมีการระบุรายละเอียดทางกายภาพของแผ่น ซึ่งด้านกายภาพของ Yellow Book นี้จะเหมือนกับ Red Book ทุกอย่างแต่จะมีการเพิ่มในเรื่องโครงสร้างของข้อมูลในรูปแบบ sector และเรื่อง ECC กับ EDC

2. cd-rom xa เป็นส่วนที่เพิ่มเติมมาจาก Yellow Book โดยรูปแบบขอแผ่นจะประกอบด้วย Q channel และ sector mode 2 (มีการใช้intreleave ในขณะที่ Mode 1 จะไม่มี ) มีพื้นฐานข้อมูลตาม ISO 9660 และมี audio แบบ ADPCM ระดับ B และ C

3. Green เป็นมาตรฐานของ cd – interactive (cd-i ) โดยข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบ ISO 9660 มี audio แบบ ADPCM ระดับ A,B และ C โดยแผ่น CD –i จะสามารถเก็บ audio ความยาวถึง 19 ชั่วโมง หรอภาพนิ่ง 7500 ภาพ หรือไฟล์หนัง MPEG 72 นาที

4. Orang Book เป็นมาตรฐานของ cd-recordable ที่ใช้ mulitsession โดยในส่วนแรกของ orange book จะกล่าวถึง CD-MO (magneto optical ) ส่วนที่สองกล่าวถึง cd-wo(write once) และส่วนที่สามกล่าวถึง cd-rw (rewitale)

5. white book เป็นมาตรฐานสำหรับ VideoCD ที่กำหนดขึ้นในปี 1993 ใช้การเก็บข้อมูลในรูปแบบ ISO 9660 บรรจุข้อมูล audio/video MPEG – 1 (ISO IEC 11172) ได้ถึง 70 นาที แผ่น VideoCD จะประกอบด้วย track แรกในมาตรฐาน CD-ROM XA Mode 2 Form 2 ISO 9660 เก็บข้อมูล CD-i และข้อมูลเกี่ยวกับตัวแผ่น VideoCD เอง และตัว VideoCD จะอยู่ใน track ถัดไปใน session เดียวกัน และ session นั้นจะต้องถูก close หลังจากที่ทุก track ได้ถูกบันทึกไปแล้ว

6. Blue Book เป็นมาตรฐานของ Enhanced Music CD หร??อที่ เรียกกันว่า CD––Extra,CD–Plus โดยแผ่นชน??ดนี้ จะมีการเก็บข้อมูลที่สามารถนำไปเล่นได้ในเคร่องเล่น CD Audio ปกต?ได้แผ่น CD จะประกอบด้วย 2 session สำหรับ audio และ data ในรูปแบบ ISO 9660 โดยใน session แรกจะเป็นเหม?อน audio CD ปกติ และใน session ที่สองจะเป็นการเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ เช่น ไฟล์ภาพ หร?อไฟล?ว?ดีโอ

7. CD–i Bridge มาตรฐานสำหรับแผ่นที่ใช้กับเครื่อง CD–i และเคร?องอ่านในระบบอื่น เช่น บน PC โดยระบุว่ารูปแบบของแผ่น CD–i จะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน CD–ROM XA ในรูปแบบ ISO 9660 และตัวโปรแกรม CD–i จะจัดเก็บไว้ใน CD–directory Audio จะเป็นแบบ ADPCM และ MPEG ส่วน video จะต้องเข้าตามมาตรฐาน CD–i และ CD–ROM XA ในตอนแรกทาง Philips ได้ใส่ MPEG–1 ไว้ใน Green Book ที่เป็นมาตรฐานที่ตั้งเพื่อให้ใช้กับเครื่องเล่น CD–i แต่ในภายหลังได้แยก MPEG-1 ออกมาเป็น Write Book (VCD) แทน ทำให้เครื่องเล่นทุกเครื่องที่ได้มาตรฐาน CD-i สามาตรฐานเล่นแผ่น CD Write Book ได้

8. Photo CD เป็นมาตรฐานของ Kodak และ Philips โดยอ้างอิงจาก CD-i Bridge ซึ่งบรรจุ index table , volume descriptor, data area, subcode Q-channel และ CD-DA clips ไว้ด้วย

9. ISO 9660 เป็นมาตรฐานที่ระบุว่า ตัว data นั้น จะถูกจัดเก็บอย่างไร และถูกอ่านอย่างไร เดิมทีเป็นของ High Sierra Group และได้รับการยอมรับจาก International Standards Organisation ในชื่อ ISO 9660 มี Level คือ

Level 1 ISO 9660 จัดเก็บชื่อแบบ 8+3 เหมือนใน MS-DOS (ชื่อไฟล์ 8 ตัว จุดและนามสกุล 3 ตัว)ตัวหนังสือที่ใช้มีตั้งแต่ A-Z,0-9, .,_ โดยตัวหนังสือจะเป็นตัวใหญ่หมดและมีระดับ directory ได้สูงสุด 8 ระดับ

Level 2 ISO 9660 ยอมให้มีการใช้ชื่อไฟล์ได้ยาวขึ้น แต่ไม่สามารถอ่านได้ใน MS-DOS

Level 3 ISO 9660 เป็นรูปแบบสำหรับ Packet Writing ซึ่งเป็นการเขียนข้อมูลที่ได้ต่อเนื่องกันลงใน track เดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีส่วนเพิ่มเติมสำหรับ ISO 9660 ซึ่งได้แก่

Joliet ของ Microsoft เป็นรูปแบบที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น Level 1 ISO 9660 เพื่อให้รองรับการใช้ long file name ที่มีใช้ใน Windos 95 และ Windos รุ่นใหม่ รวมไปถึงการรองรับ Unicode internationel character set โดยมาตรฐาน Joliet จะใช้ชื่อไฟล์ได้ถึง 64 ตัว (รวมช่องว่างด้วย)

Rock Ridge Interchange Protocol (RRIP) เป็นส่วนเพิ่มเติมสำหรับ ISO 9660 เพื่อรองรับคุณสมบัติเหมือนใน Unix เช่น ชื่อไฟล์ที่มีตัวอักษรใหญ่/เล็ก, สัญลักษณ์ และ driectory หลายๆชั้น


จากเวปไซต์ http://202.29.7.2/teacher/daungkaew/data/unit2/cd.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น